Q&A
Q : เป็นโรงงานผลิตน้ำดื่ม แต่พบปัญหาน้ำดิบเข้าบ่อเก็บน้ำเพื่อนำมาแปรสภาพมีค่าสารละลายในน้ำ หรือค่า Conductivity สูงจนเกือบจะเกินค่ามาตรฐานน้ำอุปโภคบริโภค มีสารช่วยตกตะกอนที่ไม่เพิ่มค่าการนำไฟฟ้าไหมครับ A : มีครับ สารตกตะกอนมีหลายชนิดครับ บางชนิดไม่ส่งต่อค่าความนำไฟฟ้าสูงขึ้น เราสามารถทดลองด้วย Jar test และพิสูจน์ให้ลูกค้าเห็นได้เลยว่าหลังผ่านการตกตะกอนแล้วค่าความนำไฟฟ้าไม่สูงขึ้นจากน้ำดิบเดิม และมีข้อดีคือไม่มีสารตกตะกอนหลงเหลือในน้ำจึงไม่ทำให้รสชาติของน้ำหลังการตกตะกอนเพี้ยนไป หากมีสารตกตะกอนหลงเหลืออยู่ในน้ำจะทำให้ค่าความนำไฟฟ้าสูงส่งผลให้น้ำมีรสชาติเพี้ยนไปครับ |
|
Q : pH คืออะไรคะ และมีความสำคัญอย่างไรคะ A : pH มีนิยาม ค่ายกกำลังของอิออนไฮโดรเจน เมื่อมีอิออนชนิดนี้น้อยน้ำจะมี pH สูงขึ้น pH มีความสำคัญครับ กลไกการป้องกันสนิมและตะกรันในเครื่องจักรที่สัมผัสกับน้ำ ค่า pH เกี่ยวข้องและเป็นปัจจัยสำคัญครับ |
|
Q : น้ำป้อนและน้ำในบอยเลอร์ มีค่า pH สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กรมโรงงานกำหนด ควรแก้ไขอย่างไร A : เนื่องจากน้ำบางแหล่งมีค่าสภาพด่างรวม (Total Alkalinity) สูง เมื่อป้อนเข้าสู่ระบบบอยเลอร์ สภาพด่างนี้ก่อให้ pH ของน้ำป้อนและน้ำบอยเลอร์สูงขึ้นอย่างเร็วหลังน้ำได้รับความร้อน การเลือกป้อนสารเคมีและวิธีการที่เหมาะสมสามารถช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ |
|
Q : น้ำที่กรองได้จาก RO Membrane หรือ RO Permeate ทำไมมักจะมี pH ต่ำลงคะ A : เมื่อกรองน้ำด้วย RO น้ำจะมีอิออนไบคาร์บอเนต (HCO3-) ลดลง แต่ในขณะเดียวกันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2gas) ยังคงผ่าน RO Membrane ได้กรดคาร์บอนิก ซึ่งทำให้ pH ลดลงครับ การแก้มีหลายวิธีต้องเลือกให้เหมาะสม บริษัท ฯ มีเคมีที่ช่วยปรับ pH ของน้ำ RO ให้เป็นกลาง ซึ่งเป็นชนิด Food Grade ครับ |
|
Q : ระบบคอนเดนเซอร์มีตะกรันก่ออยู่ในท่อเล็ก ๆ เคมีจะสามารถทำให้ตะกรันเหล่านี้น้อยลงบ้างไหมครับ ช่วงนี้เครื่องจักรต้องเดินต่อเนื่องตลอด ไม่มีเวลาหยุดเพื่อล้างทำความสะอาดเลยครับ A : มีครับ เคมีสำหรับ Cooling treatment และ ฺBoiler treatment บางประเภท สามารถยึดเกาะและแทรกซึมกับตะกรันที่สะสมอยู่ทำให้โครงสร้างผลึกไม่แน่น หากใช้เคมีอย่างต่อเนื่องประมาณ 2-3 เดือน จะเห็นได้ชัดเลยว่าตะกรันค่อย ๆ หลุดร่อนออก และค่าของอุณหภูมิการแลกเปลี่ยนความร้อนจะดีขึ้นครับ |