คุณสมบัติด้านความใสเป็นคุณสมบัติเชิงกายภาพพื้นฐานที่สำคัญมาเป็นอันดับต้น ๆ แต่คุณภาพน้ำของแต่ละแหล่งมีข้อจำกัด การมีสิ่งปนเปื้อนที่ขัดขวางการทำให้น้ำใส ลักษณะของน้ำและความขุ่นที่แตกต่างกัน การที่ทำให้น้ำใสได้ เราจะอาศัยการเติมสารสร้างตะกอน (Coagulant) ซึ่งคนไทยสมัยโบราณคุ้นเคยกับการใช้ สารส้ม เพื่อแกว่งให้น้ำใส แต่ ณ ปัจจุบัน การพัฒนาสารชนิดนี้เพิ่มหลากหลายชนิดขึ้น เช่น โพลีอลูมิเนียมคลอไรด์(Poly-Aluminum-Chloride ; ชื่อย่อ PAC), Aluminum Chloro Hydrate (ACH) เหล่านี้ เรียกว่า สารตกตะกอนชนิดอนินทรีย์ (Inorganic Coagulant) และ ยังมีการพัฒนาสารตกตะกอนชนิดอินทรีย์ (Organic Coagulant) ซึ่งเป็นสารที่มีความสามารถต่อการจัดการตะกอนที่มีขนาดเล็กแขวนลอย (Suspended solid) ปรับสภาพ ไม่แขวนลอยและแยกตัวจากน้ำ (Precipitation/Sedimentation) สารตกตะกอนประเภทสารอินทรีย์นี้ได้รับความนิยมมากในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากมีงานวิจัยว่าไม่ส่งผลให้เกิดภาวะโรคอัลไซเมอร์ เหมือนเช่นสารตกตะกอนกลุ่มอนินทรีย์
ในบางลักษณะการตกตะกอนอาจเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ขึ้นอยู่กับพันธะสารแขวนลอยกับสารที่ก่อให้เกิดการแขวนลอยที่ละลายในน้ำ เช่น งานตกตะกอนสีน้ำเสีย มักจะมีการใช้สารเคมี เพื่อให้เกิดการดูดติดกับวัตถุที่ต้องการย้อมสี หรือน้ำเสียที่มีลักษณะเป็นอีมัลชั่น หรือไขมันที่รวมตัวกับน้ำ บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ คลิ๊กที่นี่เพื่อชมสินค้าและสอบถาม
ต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติมหรือสนใจให้เราเข้าไปทดสอบ ติดต่อ 066-1499146